วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้


สรุป  lab science  วันที่ 21 / 06 /56

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำการทดลอง องค์ประกอบของเซลล์ โดยมีกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูเซลล์พืช และเซลล์สัตว์  ในการทดลองเราเห็นอะไรบ้างนะ....

 จากการดูเซลล์พืชว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย
 

ผลการทดลอง


ผลจากการดูเซลล์พืชว่านกาบหอย สามารถสรุปพอสังเขปได้ดังนี้

       เซลล์ว่านกาบหอย มีทั้งรูปร่างสี่เหลี่ยมและรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว เรียกว่า เซลล์คุม มีเม็ดคลอโรพลาสต์จำนวนมากภายในเซลล์

เมื่อศึกษาเซลล์ว่านกาบหอยแล้ว  แน่นอนเราต้องทำความรู้จักองค์ประกอบของเซลล์พืชกัน ว่ามีองค์ประกอบอะำไรบ้าง ........


องค์ประกอบของเซลล์พืช  มีดังนี้ .........

รูปองค์ประกอบของเซลล์พืช


จากการดูเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม




เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม จัดเป็นเซลล์สัตว์

ผลจากการดูเซลล์เยื่อบุข้างแก้ม สามารถสรุปได้ว่า

เซลล์เยื่่ยบุข้างแก้ม มีรูปร่างหลายเหลี่ยมแบนบาง ใส เมื่อย้อมสีจะเห็นองค์ประกอบที่ชัดเจนคือ นิวเคลียสขนาดใหญ่ มีเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโตพลาสซึม แต่ออร์กาแนลอื่นไม่สามารถมองเห็นได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง

ในเมื่อศึกษาเซลล์สัตว์แล้ว มาดูกันเลยว่าองค์ประกอบของเซลล์สัตว์มีอะำไรบ้าง............................



รูปองค์ประกอบของเซลล์สัตว์



ปล. โลกนี้มีอะไรอีกเยอะที่จะให้เราได้ศึกษามากมาย  จากสิ่งที่เล็กที่สุดนั้นคือเซลล์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เราก็สามารถศึกษาได้ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย  และสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ที่เราคิดว่าใหญ่อย่างเช่่นดวงอาทิตย์เราก็สามาุรถศึกษาได้เช่นกัน

จงเปลียนแปลงตัวเองไปสู่การศึกษาหาความรู้







วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สรุป บทเรียน วันที่ 17/06/56  

        วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากจุดเล็กๆนั่นคือ การสังเกต การสังเกตเป็นเหตุให้นำไปสู่การตั้งปัญหา  เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มันก็จะเดินตามกระบวนทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง เมื่อได้ข้อเท็จจริงเราจึงเรียกได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์

        กระบวนทางวิทยาศาสตร์  มีดังนี้
1. ตั้งปัญหา หลักการคือ ต้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่มีอยู่
2. ตั้งสมมติฐาน หลักการคือ ต้องสัมพันธ์กับปัญญา
3. ตรวจสอบสมมติฐาน  โดยจะมีตีวแปรต้น, ตัวแปรตาม, ตัวแปลควบคุม
4. ทดลอง
5. สรุปผลการทดลอง ผลทดลองจะออกมาเป็นอย่างไร ต้องสรุปผลตามผลจากการที่ได้ทดลอง โดยไม่เกินขอบเขตของปัญหา



กล้องจุลทรรศน์
       กล้องจุลทรรศน์ เป็นเครื่องมือทางวิทยาศาตร์ ใช้สำหรับมองดูสิ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งตาไม่สามารถมองเห็นสิ่งนั้นได้ สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบ

1.กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ( light microcope)  มีอากาศในลำแสงกล้อง ได้ภาพเสมือนมุมกลับ
2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ( electron  microscope)  ส่องได้เฉพาะสิ่่งที่ไม่มีชีวิต ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ  คือ 
  2.1 แบบส่องกราด SEM ใช้คึกษาโครงสร้าง 3 มิติ
  2.2 แบบส่องผ่าน TEM ใช้ศึกษาโครงสร้าง 2 มิติ







STEM Literacy

STEM Literacy

          ผมได้ยินคนไทยพูดบ่อยๆ ว่ายุคนี้เป็นยุคที่คนทำมาหากินกับธุรกิจบริการ มากกว่าอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing)   การเรียนด้านวิทยาศาสตร์จึงมีความจำเป็นน้อยลง   ผมคิดว่าคำกล่าวนั้น มาจากความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง
          บทบรรณาธิการเรื่อง What is STEM Education? ในวารสาร Science ฉบับวันที่ ๒๗ ส.ค. ๕๓ บอกชัดเจนว่า ความรู้ด้าน STEM (Science, Technology, Engineering, Mathematics) เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับคนทุกคน   สังคมใดผู้คนมีความรู้พื้นฐานด้าน STEM สูง สังคมนั้นจะรุ่งเรืองหรือมีอารยธรรมสูง   เพราะจะทำให้พลเมืองมีสติปัญญาสูง   เข้าใจเรื่องราวต่างๆ ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง   เข้าใจว่าสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวทำงานหรือทำหน้าที่ของมันอย่างไร   เกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกันอย่างไร 
          ในสหรัฐอเมริกา เขาระบุว่าต่อไปนี้ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี จะต้องให้เด็กเรียนวิชาทั้ง ๔ นี้ทุกชั้นปี ตลอดเวลา ๑๒ ปี 
          โปรดสังเกตว่า แม้เด็ก ป. ๑ ก็ต้องเรียนวิชาวิศวกรรมศาสตร์   เพื่อปูพื้นฐานการคิดอย่างเป็นระบบ   และปูพื้นฐานกระบวนการออกแบบ
          ความรู้ทั้ง ๔ ด้านของ STEM นี้ จะช่วยสร้างรากฐานไปสู่ทักษะสำคัญสำหรับพลเมืองในศตวรรษที่ ๒๑ อันได้แก่ ความสามารถในการปรับตัว (adaptability)   ความสามารถในการสื่อสารอย่างซับซ้อน (complex communication)   ทักษะด้านสังคม (social skills)   การแก้ปัญหาที่ไม่พบบ่อย (non-routine problem solving)   การจัดการตนเอง (self management)   และการคิดกระบวนระบบ (systems thinking)
         นอกจากนั้น ความรู้ด้าน STEM จะช่วยให้การตัดสินใจดีขึ้นในด้าน สุขภาพของตนเอง   ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน   คุณภาพสิ่งแวดล้อม   การใช้ทรัพยากร   และความมั่นคงของชาติ   ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องการมุมมองทั้งจากบริบทของส่วนย่อย เช่นเกี่ยวกับตนเอง ไปจนถึงมุมมองในระดับโลก
          นี่คือวิธีมองการศึกษา เพื่อสร้างคนสำหรับศตวรรษที่ ๒๑   ที่ต้องมีมุมมองต่อวิทยาศาสตร์อย่างซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม   จากวิทยาศาสตร์ กลายเป็น STEM

วิจารณ์ พานิช
๒๗ ส.ค. ๕๓
                

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Nature of Science



lab วิทยาศาสตร์ 14/06/56

              การที่เราจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี จุดเริ่มต้นอยู่ที่การมีเจตคติที่ดี  เพราะแท้ที่จริงแล้วการมีเจตคติที่ดีเป็นหัวใจสำคัญของนักวิทยาศาสตร์เลยก็ว่าได้ มันเป็นจุดเริ่มต้นของอะไรหลายอย่าง อาทิเช่น ทำให้เกิดตัวความรู้ และยังทำให้เกิดกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาตร์


            และหัวใจสำคัญของการเป็นนักวิทยาศาสตร์อีกอย่างคือ ต้องคิดที่จะเป็นนักสังเกตที่ดี การเป็นนักสังเกตที่ดี จะก่อให้เกิดข้อสงสัยต่างๆ และนำไปสู่การตั้งปัญหาทางด้านวิทยาศาตร์  ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า ปัญหามีความสำคัญมากในการที่เราจะศึกษาทางด้านวิทยาศาตร์   เพราะปัญหามันคือจุดเริ่มต้นของการค้นหาคำตอบ

ดังนั้นการที่เราจะค้นหาคำตอบได้นั้นเราจะต้องปฏิบัติตามกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์ ดังต่อไปนี้

1. การตั้งปัญหา  จะต้องสัมพันธ์กับข้อมูลที่เรามีอยู่แบบกะทัดรัดชัดเจน
2. รวบรวมข้อมูล
3. ตั้งสมมติฐาน  หลักการ คือ ต้องตั้งสัมพันธ์กับปัญหา 
4. การตรวจสอบสมมติฐาน หรือการทดลอง
5. การสรุปผลการทดลอง







"เราทุกคนสามารถที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้  ตราบใดที่เรายังคงความรักในวิทยาศาสตร์"



วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศาตร์ในชั้นเรียน


          หลายคนเมื่อพูดถึงการศึกษาจะนึกถึงนักศึกษา นักเรียน  แต่แท้ที่จริงแล้วการศึกษาไม่ใช่เฉพาะนักศึกษา หรือ นักเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จะรวมไปถึงมนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกใบนี้ ที่จะต้องได้รับการศึกษา จะมากจะน้อยขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าเขาต้องการมากน้อยเพียงใด
       การศึกษามีความสำคัญมากเพราะมันจะทำให้คนคนหนึ่งลดจากความบกพร่อง ความป่าเถื่อนออกจากตัวเราและเช่นเดียวกันการศึกษาจะยิ่งเพิ่มวิทยฐานะของเราให้สูงยิ่งขึ้น ทำให้คนมีระเบียบวินัย มีคุณธรรมจริยธรรม   แต่ถึงอย่างไร  การศึกษายอมขาดเสียมิใด้ นั้นคือ ครูผู้สอน  ดังคำพูดที่ว่า
                                                    "The  heart of education is teachers ."
                                                     หัวใจของการศึกษา คือ  ครูผู้สอน



        การศึกษาจะไม่ได้รับการพัฒนา  ตราบใดที่เรายังไม่พร้อมที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยน แปลง และการที่เราจมปลักอยู่่กับสิ่งเดิมๆ
ดังนั้น จง......
เปิดใจ  เรียนรู้  ยอมรับ ก้าวข้าม  และเปลี่ยนแปลง




"จงศึกษาหาความรู้ถึงแม้จะไกลถึงเมืองจีนก็ตาม"




 โลกใบนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้สรรพสิ่งเปลี่ยนตาม  
เมื่อโลกเปลี่ยน  ความรู้ก็ยิ่งเกิดขึ้นมามากมายบนโลกใบนี้  ดังนั้นผู้สอนไม่สามารถสอนได้หมดทุกเรื่อง แต่เราสามารถที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีเป้าหมาย




be the change